แม่ไม้มวยไทย
แม่ไม้มวยไทย หรือ ไม้มวย คือ การผสมผสานการใช้อาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุกหรือรับในการต่อสู้ของมวยไทย การจะใช้ศิลปะแม่ไม้มวยไทยได้อย่างชำนาญจะต้องผ่านการฝึกฝน
เบื้องต้นในการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก ให้คล่องแคล่ว จากนั้นจึงหัดใช้ผสมผสานกันไปทั้ง หมัด เท้า เข่า ศอก และการหลบหลีก ได้มีการคิดดัดแปลง พลิกแพลงเพื่อนำไปใช้แล้วตั้งชื่อท่ามวยนั้นๆ
ตามลักษณะท่าทางที่จดจำง่าย เมื่อมีท่ามวยมากขึ้นจึงจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ ตั้งชื่อให้คล้องจองกันเพื่อจะได้ท่องจำกอปรกับการชกมวยไทยในอดีตนั้นมักจะชกกันด้วยมือเปล่าหรือมีผ้าดิบ
พันมือจึงสามารถใช้มือจับคู่ต่อสู้เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงสามารถใช้ชั้นเชิงในการต่อสู้มากกว่าการใช้กำลัง
ท่าแม่ไม้มวยไทยที่ครูบาอาจารย์ในแต่ละสำนักได้คิดค้นขึ้น แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีความรอบรู้ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ ด้านศาสตร์ รู้ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง
ของร่างกายที่จะพิชิตและเอาชนะคู่ต่อสู้ ด้านศิลป์ คือ ลักษณะการใช้นวอาวุธ ที่มีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างพิสดาร
นับแต่โบราณมาครูมวยแต่ละสำนักได้แบ่งประเภทของแม่ไม้มวยไทยไว้ต่างกัน บางท่าแม้จะมีชื่อเรียกเหมือนกันแต่ก็อาจมีท่วงท่าแตกต่างกัน ไม้มวยไทยที่กล่าวถึงในตำรามวยไทย
แบ่งออกตามลักษณะการแก้ทางมวยและการจู่โจมเรียกว่า กลมวย แบ่งตามลักษณะการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เรียกว่า เชิงมวย บางตำราแบ่งเป็น แม่ไม้ ลูกไม้ หรือแบ่งเป็น ไม้ครู ไม้เกร็ด
ซึ่งไม้ครูหมายถึงไม้สำคัญที่เน้นให้ลูกศิษย์ต้องปฏิบัติให้ชำนาญ และเมื่อชำนาญแล้วสามารถแตกไม้ครูแต่ละแบบออกเป็นไม้เกร็ดได้อีกมากมาย ไม้ครูที่ในปัจจุบันได้รับการยกย่องมีอยู่ 15 กระบวนท่าด้วยกันเรียกว่า
แม่ไม้มวยไทย มีชื่อคล้องจองกัน
8.ปักลูกทอย – ไม้นี้ใช้รับการเตะเฉียง โดยใช้ศอกกระแทกเข้าที่หน้าแข้ง 9. จระเข้ฟาดหาง – ไม้นี้ใช้สันเท้าฟาดหลัง เมื่อคู่ต่อสู้ชกมาสุดแรง แล้วเสียหลักเปิดส่วนหลังว่างแล้วให้หมุนตัวเตะด้วยลูกเหวี่ยงส้นเท้าที่ไต อาจทำให้ไตพิการได้