มวยไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
มวยไทย เป็นมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ 2 เท้า 2 เข่า 2 ศอก 2 และศีรษะ 1 อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก
มวยไทยเป็นศิลปะการป้องกันตัวและเป็นศาสตร์ที่ชายชาติทหารจะต้องฝึกให้คล่องแคล่ว ดังคำกล่าวที่ว่ามวยนั้นเป็นมูลบทของวิชายุทธ์ เพลงอาวุธเป็นมัธยม และพิชัยสงครามเป็นมงกุฎ
มวยไทยเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้อุบาย ชั้นเชิง ไหวพริบ และวิชาเข้าต่อสู้กัน จึงปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า ในอดีต พระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถจะทรงเชี่ยวชาญการชกมวยเป็นอย่างยิ่งขณะเดียวกัน
เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางฝ่ายทหาร และสามัญชนจะฝึกฝนมวยไทยเพื่อป้องกันตัวและชาติบ้านเมืองเพราะการใช้อาวุธ เช่น กระบี่ กระบอง พลอง ดาบ ง้าว ทวน ประกอบกับมวยไทย จะทำให้การใช้อาวุธนั้นเกิด
ประสิทธิภาพสงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้ป้องกันตัวในระยะประชิด ในยามสงบ มวยไทยจะเป็นการประลองพละกำลังและชั้นเชิงการต่อสู้จนกลายเป็นกิจกรรมทางสังคมมีการแข่งขันมวยในโอกาสสำคัญๆ
ดังปรากฏในกฎหมายตราสามดวง หมวดอัยการเบ็ดเสร็จที่กล่าวถึงการชกมวยไว้ว่า “…117 มาตราที่หนึ่ง ชนทังสองเปนเอกจิตเอกฉันท์ ตีมวยด้วยกันก็ดี แลปล้ำกันก็ดี
และผู้หนึ่งต้องเจ็บปวดด้วยก็ดี ค่นหักถึงแก่มรณภาพก็ดีท่านว่าหาโทษมิได้…”
มวยไทยจึงมีความสำคัญทั้งต่อบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีส่วนสำคัญยิ่งในการดำรงเอกราชของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของมวยไทย ผสานชั้นเชิงกับร่างกายให้เป็นอาวุธ
เอกลักษณ์ของมวยไทยที่ทำให้มวยไทยมีความโดดเด่นและถือเป็นศิลปะชั้นสูงคือการใช้อวัยวะต่างๆ เป็นประดุจดังเกราะและอาวุธ ใช้ชั้นเชิงไหวพริบและวิชาเข้าต่อสู้กัน ไม่ใช่กำลังแต่เพียงอย่างเดียว กอปรด้วย “ศาสตร์” อันได้แก่การเรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็งของร่างกายที่จะพิชิตและเอาชนะคู่ต่อสู้ “ศิลป์” คือ ลักษณะการใช้นวอาวุธอันมีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างพิสดาร ทำให้มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีมนต์ขลังและเป็นการต่อสู้ที่มีชั้นเชิงเป็นที่ประทับใจของคนทั้งโลกการฝึกมวยโบราณ แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน
มวยไทยนั้นมีหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือ การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก และศีรษะ ก่อเกิดกระบวนท่าทางต่าง ๆ นับร้อย ๆ กระบวนท่า โดยในแต่ละท้องที่ได้พัฒนาความสามารถและความถนัดในเชิงมวยที่แตกต่างกัน ซึ่งสะท้อนออกมาในลักษณะของความชำนาญในเชิงมวยและเทคนิควิธี โดยเฉพาะการคาดเชือกมีการเปรียบเปรยความสามารถเชิงมวยของท้องถิ่นต่างๆ ว่า “หมัดหนัก โคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา ครบเครื่องพลศึกษา
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทย เริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ในปัจจุบัน มีการดัดแปลงมวยไทยมาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า “เลิศฤทธิ์” ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย) มวยไทยสืบทอดมาจาก มวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ