มวยไทย

จากบทความที่แล้ว เราได้พูดเกี่ยวกับเรื่องประวัติของมวยไทยกันไปแล้ว เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติของมวยไทยกันต่อเลยนะครับ

ประวัติมวยไทยสมัยรัชกาลที่ 4

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394-2411) เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงแต่งองค์อย่าง กุมารชกมวยไทย และรำกระบี่กระบองแสดงในงานสมโภชพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามสมัยนี้เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ของอารยะธรรมตะวันตกที่เริ่มแพร่หลายมาในประเทศไทยทว่ามวยไทยก็ยังคงเป็นกีฬาประจำชาติอยู่

ประวัติมวยไทยสมัยรัชกาลที่ 5

พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักมวยหลวง ซึ่งมีปรมาจารย์หลวงพลโยธานุโยค ครูมวยหลวงเป็นผู้ถวายการสอน ทำให้พระองค์โปรดกีฬามวยไทยมาก

เสด็จทอดพระเนตรการชกมวยหน้าพระที่นั่ง ทรงโปรดให้ข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ คัดนักมวยฝีมือดีมาชกกันหน้าพระที่นั่งเพื่อหานักมวยที่เก่งที่สุดเข้าเป็นทหารรักษาพระองค์ สังกัดกรมมวยหลวง

พระองค์ทรงเห็นคุณค่าของกีฬาประจำชาติ จึงตรัสให้มีการแข่งขันมวยไทยขึ้นทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความนิยมกีฬามวยไทยมากขึ้น นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มี “มวยหลวง” ตามหัวเมืองต่างๆ

เพื่อทำหน้าที่ฝึกสอน จัดการแข่งขัน และควบคุมการแข่งขันมวยไทย ปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น ให้มวยไทยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนครูฝึกหัดพลคึกษา

และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในสมัยนี้เป็นที่ยอมรับว่า คือ ยุคทองของมวยไทย

ประวัติมวยไทยสมัยรัชกาลที่ 6

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) ระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 ประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ณ เมืองมาเซย์ ประเทศฝรั่งเศส

โดยมีพลโทพระยาเทพหัสดินเป็นแม่ทัพ ในการนี้ท่านได้จัดแสดงมวยไทย ให้บรรดาทหารและประชาชนชาวยุโรปได้ชม นับเป็นครั้งแรกที่มวยไทยได้เผยแพร่ในทวีปยุโรป ต่อมาในปี พ.ศ.2464

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กีฬามวยไทยก็ยังคงเป็นที่นิยมของประชาชนอย่างไม่เสื่อมคลาย และยุคนี้ก็ได้มีสนามมวยถาวรแห่งแรกที่จัดการแข่งขันมวยไทยเป็นประจำนั่นคือบนสนามฟุตบอลภายในโรงเรียนสวนกุหลาบ

จึงเรียกยุคนี้ว่า “สมัยสวนกุหลาบ”

ประวัติมวยไทยสมัยรัชกาลที่ 7

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) ระหว่างปี พ.ศ. 2466 – 2472 พลโทพระยาเทพหัสดินได้สร้างสนามมวยหลักเมืองท่าช้างขึ้น บริเวณโรงละครแห่งชาติ ในปัจจุบัน

โดยลักษณะของเวทีมีเชือกกั้นเส้นใหญ่ขึ้นและแต่ละเส้นขึงตึงเป็นเส้นเดียวไม่เปิดช่องตรงมุม สำหรับขึ้นลงอย่างในยุคเก่าเพื่อป้องกันมิให้นักมวยตกเวทีตรงช่องดังกล่าว ต่อมาในปี พ.ศ.2472

รัฐบาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิกมวยคาดเชือกลุมพินีร่วมกับมหรสพอื่นๆ โดยคัดเลือกเอานักมวยไทยฝีมือดีมาชกกันทุกวันเสาร์ และมีการสร้างเวทีมวยขึ้นตามอย่างมาตรฐานสากล คือ มีเชือกกั้นสามเส้น

ใช้ผ้าใบปูพื้น มีมุมแดงมุมน้ำเงิน มีผู้ตัดสินให้คะแนน 2 คน และผู้ตัดสินชี้ขาดการแข่งขันบนเวทีอีก 1 คน โดยกำหนดให้ใช้เสียงระฆัง เป็นสัญญาณด้วยระฆังเป็นครั้งแรก

ประวัติมวยไทยสมัยรัชกาลที่ 8

สมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล (พ.ศ.2477 – 2489) ระหว่างปี พ.ศ.2478 2484 คหบดีผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้สร้างเวทีมวยขึ้นบริเวณที่ดินของเจ้าเชต ชื่อ สนามมวยสวนเจ้าเชต

ปัจจุบันคือที่ตั้งกรมรักษาดินแดน การดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยดี เนื่องจากทหารเข้ามาควบคุม เพื่อนำรายได้ไปบำรุงกิจการทหาร จัดการแข่งขันกันติดต่อหลายปี จึงเลิกไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะสงบแต่ยังคงมีเครื่องบินข้าศึกบินลาดตระเวนอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จำเป็นต้องจัดการแข่งขันชกมวยไทยตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ในเวลากลางวัน เช่น สนามมวยพัฒนาการ

สนามมวยท่าพระจันทร์ สนามมวยวงเวียนใหญ่ เนื่องจากประชนยังคงให้ความสนใจมวยไทยอยู่

ประวัติมวยไทยสมัยรัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน) วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2488 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เปิดสนามทำการแข่งขันครั้งแรก มีนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นนายสนามมวยคนแรก พระยาจินดารักษ์เป็นกรรมการบริหารเวที ครูชิต อัมพลสิน เป็นโปรโมเตอร์ จัดชกเป็นประจำในวันอาทิตย์เวลา 16.00 – 17.00 น. ใช้กติกาของกรมพลศึกษา ปี พ.ศ.2480 ชก 5 ยกๆ ละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที ในระยะแรกชั่ง น้ำหนักตัวนักมวยด้วยมาตราส่วนเป็นสโตนเหมือนน้ำหนักม้าอีก 2 ปีต่อมา จึงเปลี่ยนเป็นกิโลกรัม และปี พ.ศ.2494 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เริ่มก่อสร้างหลังคาอย่างถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *